ประเทศไทย
ยูเอ็นเอชซีอาร์เริ่มดำเนินการในประเทศไทยโดยคำเชิญของรัฐบาลไทยในปีพ.ศ. 2518 สืบเนื่องมาจากสถานการณ์ผู้ลี้ภัยนับแสนคนจากประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนามอพยพเข้ามาในประเทศไทย ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ผู้ลี้ภัยในภูมิภาคอินโดจีน ช่วงเวลานั้น มีผู้ลี้ภัยกว่า1.3 ล้านคนอยู่ในความดูแลของรัฐบาลไทยเป็นเวลาหลายปี
ปัจจุบัน ผู้ลี้ภัยที่ลงทะเบียนในประเทศไทยมีจำนวนเกือบ 113,000 คน และผู้ที่ลงทะเบียนขอลี้ภัยอีก 12,500 คน โดยส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อย ชาวกะเหรี่ยง และกะเหรี่ยงแดงจากประเทศพม่า ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในพื้นที่พักพิงชั่วคราว 9 แห่ง ใน 4 จังหวัด รัฐบาลไทยดูแลบริหารที่พักพิงทั้งหมด โดยความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาล เอ็นจีโอ และยูเอ็นเอชซีอาร์ โดยยูเอ็นเอชซีอาร์มีบทบาทหลักในการให้ความคุ้มครองผู้ลี้ภัยเพื่อให้มีสภาพความเป็นอยู่ที่มั่นคงปลอดภัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของพวกเขาระหว่างที่อาศัยในพื้นที่พักพิงชั่วคราว
แผนที่ค่ายผู้ลี้ภัยในประเทศไทย
- กาญจนบุรี
- แม่ฮ่องสอน
- ตาก
- ราชบุรี